ดินแดนปาเลสไตน์ ซึ่งถูกแย่งไป ประกอบด้วยเวสต์แบงก์ลากยาวไปจรดเยรูซาเลมตะวันออก รวมทั้งฉนวนกาซา ในปี พ.ศ. 2536 จากข้อตกลงออสโล ทำให้ดินแดนบางส่วน ตกอยู่ภายใต้อำนาจขององค์การบริหารแห่งชาติปาเลสไตน์ ต่อมาในปี พ.ศ. 2550 ฉนวนกาซา ซึ่งได้รับการปกครองจากฮามาส แยกตัวออกมาจากองค์การบริหารปาเลไสตน์อย่างขาดสะบั้น ทำให้พื้นที่ปกครองกาซาเป็นอิสระนับแต่นั้นเป็นต้นมา อีกทั้งอิสราเอลยังเข้าแทรกแซงควบคุมกองกำลังทหาร อย่างเบ็ดเสร็จ นอกจากนี้ตามข้อตกลงออสโล พื้นที่ 61% ของเวสต์แบงก์ เดือนเมษายน พ.ศ. 2554 ภาคีปาเลสไตน์ต้องลงนามความตกลงปรองดอง หากแต่การนำไปปฏิบัติจริงยังคงไม่ราบรื่นเหมือนตามสัญญาในกระดาษ ทำให้ความพยายามในการปรองดองต่อมาในปี พ.ศ. 2555 ก็ไม่ประสบความสำเร็จเช่นเดียวกัน
พื้นที่เขตเวสต์แบงก์กับฉนวนกาซา เป็นส่วนหนึ่งของดินแดนตะวันตกซึ่งเคยอยู่ภายใต้การปกครองของอังกฤษ โดยก่อตั้งในปี พ.ศ.2465 เริ่มมาตั้งแต่สงครามอาหรับ – อิสราเอล ในปี พ.ศ. 2491 ลากยาวมาจนถึงสงคราม 6 วัน ในปี พ.ศ. 2510 เวสต์แบงก์โดนจอร์แดนเข้ายึดครอง ส่วนฉนวนกาซาก็ถูกอียิปต์ยึดครอง ถึงแม้ว่ารัฐบาลของปาเลสไตน์มีการ ใช้อำนาจอย่างจำกัดในกาซา มาตั้งแต่เดือนกันยายน พ.ศ. 2491 – 2502 ก็ตาม สำหรับเรื่องแนวพรมแดน ก็จัดเป็นเรื่องของการเจรจาในอนาคต
โดยเหตุผลหลักก็มาจากการที่อิสราเอลยึดดินแดนเวสต์แบงก์รวมทั้งฉนวนกาซาจากจอร์แดนและอียิปต์ตามลำดับ ในช่วงสงคราม 6 วัน ปี พ.ศ. 2510 พวกเขาได้ทำการควบคุมดินแดนทั้งหมดตามที่กล่าวมานับแต่นั้น โดยประชาคมนานาชาติ, สหประชาชาติและองค์การกฎหมายระหว่างประเทศ จึงเรียกพื้นที่นี้ว่า “ดินแดนปาเลสไตน์ที่ถูกยึดครอง”
ในปี พ.ศ. 2523 อิสราเอลควบรวมเยรูซาเลมตะวันออกเข้าไปอีกชั้น โดยการรวมดินแดนดังกล่าว ส่งผลโดนนานาชาติประณาม ทางด้านคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ ก็ออกมาโต้แย้งว่าให้เป็นโมฆะ ในขณะที่อิสราเอลกลับมองว่า เยรูซาเลม คือ เมืองหลวงของประเทศ
ในปี พ.ศ.2531 องค์การปลดปล่อยปาเลสไตน์ต้องการทวงสิทธิของตนคืน จึงประกาศให้เป็นรัฐปาเลสไตน์ ด้วยเหตุนี้จอร์แดนจึงยอมสละการยึดครองเวสต์แบงก์ และเยรูซาเลมตะวันออก เพราะทนแรงกดดันไม่ไหว มีชาติสมาชิกสหประชาชาติ 130 ประเทศ เข้ารับรองให้กับรัฐปาเลสไตน์ หากแต่อิสราเอล, ตะวันตกบางประเทศ และสหรัฐอเมริกา ยังไม่รับรอง แต่เพียงไม่นานหลังจากนั้น องค์การบริหารปาเลสไตน์ก็ตั้งขึ้นมาอย่างถูกต้อง ในปี พ.ศ. 2536 ด้วยการควบคุมบางส่วนของเวสต์แบงก์และฉนวนกาซา