สงครามครูเสด หรือ สงครามศักดิ์สิทธิ์ ที่เป็นการแย่งพื้นที่และดินแดนในการครอบครองของความศรัทธาทางศาสนา โดยการกล่าวอ้างว่าเป็นพระประสงค์ของพระผู้เป็นเจ้า เพื่อการเป็นไปตามที่ต้องการ ในการยึดดินแดนแห่งพันธะสัญญา ด้วยความเชื่อที่ว่า สงครามศักดิ์สิทธิ์เป็นไปตามพระประสงค์ของพระผู้เป็นเจ้า หากได้ ฆ่าคนนอกรีต หรือ คนต่างศาสนาจะไม่บาป โดยที่ ชาวมุสลิมใช้คำว่า “จิฮัด”
การปะทุของทุกๆสงครามย่อมมีสาเหตุเสมอ ในการสร้างสงครามครั้งนี้ ได้แบ่งมุมมองออกเป็น 2 มุม คือ
มุมมองทางด้านศาสนาคริสต์การเกิดสงครามครูเสด
การเริ่มต้นในครั้งนี้ชาวคริสต์มองว่าเป็นสงครามไม้กางเขน หรือ สงครามเพื่อดินแดนแห่งพันธะสัญญา เยรูซาเล็ม โดยความเชื่อที่ว่าคือ พื้นที่ตรงนี้เป็นของชาวคริสต์แต่แรกเริ่ม และ ได้ถูกชาวมุสลิมได้เข้ามาแทรกแซง รุกราน พื้นที่ศักดิ์สิทธิ์แห่งนี้ ที่เคยเป็นที่ฝังพระศพของพระเยซูบุตรแห่งพระผู้เป็นเจ้า ถึงขั้นประกาศเกี่ยวกับความชอบธรรมในการทำสงคราม พร้อมยกหนี้สินทั้งหมดให้กับผู้ที่เข้าร่วมสงคราม และ เหนือสิ่งอื่นใดผู้ที่เข้าร่วมรบนั้นจะได้ขึ้นไปยังสรวงสวรรค์ ซึ่งเป็นการประกาศออกมาจากคำพูดองค์พระสันตะปาปา
มุมมองทางด้านศาสนาอิสลามการเกิดสงครามครูเสด
ชาวมุสลิมได้มองว่าเป็นการรุกรานจากชาวคริสต์ ซึ่งเป็นผู้กระทำ เนื่องจากไม่พึงพอใจในการแสวงบุญของชาวอิสลาม ที่มักจะเดินทางไปแสวงบุญที่กรุงเยรูซาเลม จึงประกาศเป็นสงครามทางศาสนา
สาเหตุที่คาดว่าทำให้เกิดสงครามครูเสด
สาเหตุที่ 1 คาดว่าน่าจะเกิดจากความขัดแย้งระหว่างคริสตจักรทางภาคตะวันตกกับทางภาคตะวันออก แย่งกันเป็นผู้นำ จึงเสนอทางออกในการเป็นผู้นำรบทวงดินแดนศักดิ์สิทธิ์ได้ จะเป็นผู้มีอำนาจอย่างแท้จริง ทั้งยังเป็นการหยุดการแพร่ขยายของศาสนาอิสลาม ที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วอีกด้วย เพื่อที่จะลดจำนวนจำเป็นต้องฆ่าทิ้ง
สาเหตุที่ 2 ความต้องการที่จะแสวงบุญของชาวคริสเตียนสูงมากอย่างที่ไม่เคยเป็นมาก่อน และ ต้องการเดินทางไปแสวงบุญที่กรุงเยรูซาเล็มมากว่าครั้งใดๆ เพียงแต่ว่าการปกครองของกรุงเยรูซาเล็มนั้นไม่ได้อยู่ภายใต้ความดูแลของชาวคริสเตียนแต่เป็นมุสลิม เพื่อความสะดวกสบายต่อการแสวงบุญจึงประกาศสงครามศาสนา และ ยึดครองดินแดนศักดิ์สิทธิ์เป็นของตนเอง
สาเหตุที่ 3 ช่วงระยะเวลานั้น เกิดเหตุการณ์ที่ไม่ดี เป็นอย่างมาก เสมือนคลื่นใต้น้ำ บรรยากาศอึมครึม ระส่ำระสายทั่วยุโรป เพื่อป้องกันการทำสงครามกันเองภายในยุโรปของชาวคริสเตียน องค์พระสันตะปาปา ไม่ต้องการให้เกิดอากาศเช่นนั้นจึงต้อง สร้างเรื่องราวปลุกระดม ยุยงให้เปลี่ยนมาทำสงครามกับชาวมุสลิม เพื่อเอามหานครศักดิ์สิทธิ์เยรูซาเล็มคืน
สาเหตุที่ 4 การค้าเชิงพาณิชย์อยู่ในมือของชาวมุสลิมแถบเมดิเตอร์เรเนียน เพื่อหยุดยั้งการเจริญก้าวหน้าของชาวมุสลิม จึงต้องทำสงคราม (เห็นคนอื่นดีกว่าไม่ได้)
สาเหตุที่ 5 สันตะปาปา เออร์แบนที่ 2 รบเร้าให้ชาวคริสเตียน ทำสงครามกับชาวมุสลิม เพราะต้องการรวมอิทธิพลของคริสตจักรทั้งหมดไว้ที่ตนเพียงผู้เดียว จึงประกาศว่าใครเข้าร่วมสู้จะได้เว้นจากบาปที่เคยทำ และ ผู้ที่ตายในสงครามจะได้ขึ้นสวรรค์
บทสรุปมหากาพย์แห่งสงครามครูเสด
ตลอดระยะเวลานานกว่า 200 ปี มีคนตายมากกว่า 700,000 คน ภายใต้การทำสงครามศักดิ์สิทธิ์
สงครามครูเสด ครั้งที่ 1
ตั้งแต่เมื่อ ค.ศ. 1092 ถึง ค.ศ. 1101 เป็นครั้งที่เรียกว่า Holy War อย่างแท้จริง มีการรวบรวมพระเจ้าแผ่นดินหลายพระองค์เพื่อไปทำสงครามในครั้งนี้ และ เป็นครั้งแรกและครั้งเดียวที่เอาชนะพวกเติร์กเปิดทางให้คริสต์ศาสนิกชนไปนมัสการที่ฝังศพพระเยซูได้สะดวก จึงประกาศสงครามครั้งนี้เป็น “สงครามตามปรารถนาของพระเจ้า”
สงครามครูเสด ครั้งที่ 2
ตั้งแต่ ค.ศ. 1147 ถึง ค.ศ. 1149 มุสลิมก็เริ่มสะสมกำลังพล ยึดเมืองอาเลปโป เมืองเอเดสสา และอีกหลายเมือง ฝ่ายคริสต์พวกขุนนางและอัศวินต่างๆ ไม่ค่อยให้ความร่วมมือเหลือเพียงพระเจ้าหลุยส์ที่ 7 ของฝรั่งเศส กับ พระเจ้าคอนราดที่ 3 ของเยอรมัน แต่ก็ต้องแพ้ย่อยยับอย่างน่าผิดหวัง
สงครามครูเสด ครั้งที่ 3
ตั้งแต่ ค.ศ. 1189 ถึง ค.ศ. 1192 พระเจ้าเฟรเดริกที่ 1 (เยอรมัน) ฟิลิปป์ออกุสต์ (ฝรั่งเศส) และริชาร์ด ไลออนอาร์ท (อังกฤษ) ได้ไปในครั้งนี้ ด้วยสัญญาสงบศึก นอกจากนี้ ริชาร์ด ไลออนอาร์ท ยังถูกคริสเตียนด้วยกันจับตัวเป็นตัวประกัน เพื่อเรียกค่าไถ่จากอังกฤษ และ พระเจ้าเฟรเดริกจมน้ำตาย
สงครามครูเสด ครั้งที่ 4
ตั้งแต่ ค.ศ. 1202 ถึง ค.ศ. 1204 ไม่ได้ส่งผลดีอะไรต่อคริสตจักรเลย เนื่องจากกองทัพครูเสดที่จะต้องไปรบพวกเติร์ก แต่กลับไปรบพวกคริสเตียนด้วยกันเอง พังย่อยยับสำหรับกองทัพคริสตจักร
สงครามครูเสด ครั้งที่ 5
ตั้งแต่ ค.ศ. 1217 ถึง ค.ศ. 1221 เซนเญอร์ของฝรั่งเศสคนหนึ่งชื่อ ยองเลอเบรียน กับพระเจ้าแผ่นดินฮังการี ไปรบพวกเติร์กในประเทศอียิปต์ และไม่ได้ผลทางชัยชนะ
สงครามครูเสด ครั้งที่ 6
ตั้งแต่ ค.ศ. 1228 ถึง ค.ศ. 1229 พระเจ้าเฟรเดริกที่ 2 (เยอรมัน) เป็นหัวหน้าไป แต่ไม่ได้ไปรบ เพราะไปสร้างสัมพันธไมตรีกับพวกอาหรับ ทำให้พวกอาหรับยอมให้พวกคริสเตียนเดินทางเข้าเมืองเยรูซาเล็มได้อีก
สงครามครูเสด ครั้งที่ 7
ตั้งแต่ ค.ศ. 1248 ถึง ค.ศ. 1249 พระเจ้าหลุยส์ที่ 9 (ฝรั่งเศส)พยายามโจมตีอียิปต์ แต่พระองค์ถูกฝ่ายมุสลิมจับตัวไว้ได้ และให้ทางฝรั่งเศสส่งเงินเพื่อไถ่ตัวกลับไป
สงครามครูเสด ครั้งที่ 8
ใน ค.ศ. 1270 นั้น สงครามครูเสดได้ทำกันในประเทศอียิปต์ เพราะพวกหัวหน้าเติร์กมีถิ่นสำคัญตั้งอยู่ที่นั่น และแซงต์หลุยส์ (ฝรั่งเศส) เป็นตัวตั้งตัวตีในการทำสงครามครูเสด แต่พระเจ้าหลุยส์ทรงสิ้นพระชนม์ด้วยโรคระบาด เมื่อ ค.ศ. 1270 และ สงครามครูเสดก็สุดสิ้นลงในครั้งนี้
ด้วยเหตุการณ์ต่างๆที่คาดการณ์ว่าน่าจะสิ้นสุดลงไปแล้ว แต่ใครเลยจะรู้ว่าสิ่งที่กำลังเกิดขึ้นอยู่ในปัจจุบันนั้น ช่างมีความคล้ายคลึงกับอดีตสิ้นดี เพียงแต่ว่าแตกต่างกันเพียงเล็กน้อยตรงที่ อยู่ตรงที่อาวุธในสมัยก่อนกับสมัยนี้แตกต่างกัน และ เป็นสงครามที่เปลี่ยนชื่อออกไปว่าเป็น ปาเลสไตน์ (อิสลาม) กับ อิสราเอล (ยิว) นี่อาจจะกลายเป็นสงครามศักดิ์สิทธิ์ครั้งใหม่ก็เป็นไปได้ทั้งนั้น อยู่ที่ว่าตอนนี้ผู้ที่จะเป็นคนถือไพ่เหนือกว่าคือใครเท่านั้นเอง จากมุมมองของนักปกครอง สงครามครั้งนี้เกิดขึ้นด้วยเรื่องการเมืองทั้งสิ้น ผลสุดท้ายในตอนจบ คือ ผู้ที่วางเกมทางการเมืองได้เหนือกว่าจะได้พื้นที่ศักดิ์สิทธิ์แห่งนี้ไว้ในการครอบครอง